วันจันทร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

หน้ามืดหว่ะ เวียนหัวด้วย ย

ใช้ บอดี้ได้เมนี่มากกก

คั่ว แทะ เต๊าะ
คืองานเฉพาะของเอกไทย

ต้าต้าเฟสบุ๊ค

เค้าทันสมัยกันแล้ว บายนะเจ้า fb.

google plus

mania fever crazy
เหอะๆๆ ทำไดซะงั้นอ่า

มันกำลังจะมาโดยไม่รู้ตัว ++

gg+ เสร็จโจรแล้วววว

วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

วันพุธที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2554

วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ชาวโลกทุกคน ]]

งานคุณครูพี่เม ยังไม่สำเร็จเยย "

เศ-ร้า

ปล่อยลมหายใจให้มันเดินเล่นบ้าง อะไรบ้าง หุ หุ
+%-$^#&*(_+=)0"?

แย่ แย่ แย่

มันน่าจะคบ เด็กที่รู้เรื่องคอม @@

วันหลังเธอติด แว่นขยายมาด้วยนะ ธิดาทิพย์ >>

ตัวหนังสือเล็กมากถึงกับมากก้ากก ก

วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2554

วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554

กำลังเนิรสท์

เด็ก ค.บ. ไทย
เตรียมตัวเตรียมใจ เป็น ชมรมผู้เลี้ยงสุกร เอื๊อก ก ((

โครงการพระราชดำริ

โครงการในพระราชดำริ
1.โครงการแหลมผักเบี้ย จ. เพชรบุรี
ปัญหาขยะและน้ำเสียในชุมชนและเมืองขนาดใหญ่สร้างความเดือดร้อนต่อสภาพแวดล้อม อย่างรวดเร็วซึ่งส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงห่วงใย ในปัญหาดังกล่าว และได้เล็งเห็นว่าการบำบัดน้ำเสียและฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมให้อยู่ในสภาพที่ดีขึ้นหากนำเทคโนโลยีีสมัยใหม มาใช้เพียงอย่างเดียวก็จะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายเป็นอย่างมาก
ประเทศไทยเป็นประเทศในเขตร้อนชื้น กิจกรรม ของสิ่งมีชีวิตต่างๆ ในการย่อยสลายสิ่งสกปรกย่อมมีมากและรวดเร็วพระองค์ท่านจึงมีพระราชดำริเรื่อง การบำบัดของเสียด้านขยะและน้ำเสียโดยอาศัยเทคโนโลยี ที่ง่ายราคาถูก ทุกคนทำได้ ไม่สลับซับซ้อนค่าใช้จ่ายต่ำและให้ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ
ดังกระแสพระราชดำริ เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2533
" ...ปัญหาสำคัญ คือ เรื่องสิ่งแวดล้อม เรื่องน้ำเสียกับขยะ ได้ศึกษามาแล้วเหมือนกันทำไม่ยากนัก ในบางเทคโนโลยีทำได้ แล้วในเมืองไทยเองก็ทำได้"
" ...แล้วก็ต้องทำการเรียกว่า การกรองน้ำ ให้ทำน้ำนั้นไม่ให้โสโครก แล้วปล่อยน้ำลงมา ที่เป็นที่ทำการ เพาะปลูก หรือทำทุ่งหญ้า หลังจากนั้นน้ำที่เหลือ
ก็จะลงทะเลโดยไม่ทำให้น้ำนั้นเสีย"
จากแนวพระราชดำรัสข้างต้นนี้เองจึงเป็นที่มาของโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย อันเนื่องม าจากพระราชดำริ

2.โครงการชั่งหัวมัน ตามพระราชดำริ จ.เพชรบุรี

ประวัติโครงการ : ที่มาของโครงการนี้มีว่า ข้าราชบริพารในพระองค์ได้มาซื้อที่ดินบริเวณนี้สำหรับอยู่อาศัย ปลูกพืชผล ต่อมาความทราบถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระทัย จึงได้เสด็จพระราชดำเนินมาทอดพระเนตรที่ดินและได้ทรงซื้อที่ดินบริเวณดังกล่าวจำนวน 250 ไร่ สำหรับเพาะปลูกพืชทำเป็นโครงการตามพระราชดำริ และได้มีมีชาวบ้านได้นำมันเทศที่ปลูกมาทูลเกล้าฯ ถวาย พระองค์แต่เมื่อเสด็จกลับมิได้ทรงนำมันหัวนั้นไปด้วย แต่เมื่อเสด็จกลับมาอีกครั้งทรงพบว่ามันหัวนั้นงอกเป็นต้น จึงมีพระราชดำรัสว่ามันอยู่ที่ไหนก็งอกได้ จึงมีพระราชดำริให้จัดเป็นพื้นที่เพาะปลูกพืชต่างๆ โดยเน้นที่พืชท้องถิ่นของเพชรบุรี เช่น มะพร้าว ชมพู่เพชร มะนาว กะเพรา สัปปะรด ข้าวไร่พันธุ์ต่างๆ และทรงมีพระราชดำริให้ปลูกแปลงทดลองมันเทศในที่ดินส่วน ซึ่งโครงการนี้เป็นโครงการพระราชดำริล่าสุดที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อีกทั้งยังทรงให้ปรับปรุงระบบระบายน้ำที่อ่างเก็บน้ำหนองเสือ เพื่อใช้ในโครงการชั่งหัวมันตามพระราชดำริ บ้านหนองคอกไก่ ตำบลเขากระปุก อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี อีกด้วย
และเมื่อกราบบังคมทูล ฯ ขอพระราชทานชื่อโครงการ พระองค์จึงตรัสว่าชื่อ "ชั่งหัวมัน" ก็แล้วกัน
ชื่อ โครงการชั่งหัวมัน ถือได้ว่าเป็นชื่อโครงการที่แปลก ชวนให้คิดตีความว่าชื่อนี้มีความหมายอะไร ถ้าตีความหมายตามสำนวนไทย ชั่งหัวมัน (ช่างหัวมัน) ก็หมายถึง “ไม่ต้องไปสนใจ อะไรจะเกิดก็ปล่อยให้มันเกิด ใครจะทำอะไรก็ทำไป เราไม่ต้องไปใส่ใจ” พระองค์ท่านเป็นนักปราชญ์มีสายพระเนตรยาวไกลและความคิดที่ลึกซึ้ง ชั่งหัวมันจึงเป็นชื่อที่สื่ออะไรที่มีความหมายลึกซึ้งมากยิ่งกว่าแค่เอาหัวมันมาชั่ง ซึ่งก็แล้วแต่ใครจะตีความตามแบบฉบับของตัวเองแล้วกันค่ะ ซึ่งขอบอกว่า ไม่ธรรมดาแน่ ๆ
สถานที่ตั้ง: คลอบคลุมตำบลเขากระปุก และตำบลกลัดหลวง อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี (ห่างจากที่พัก วิมานน้ำ รีสอร์ท ประมาณ 15 กิโลเมตร)
โครงการชั่งหัวมันเป็นการบริหารทรัพยากรแบบบูรณาการโดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้คุ้มค่ามากที่สุด ขณะเดียวกันก็พยายามเปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาส โดยคาดว่าอนาคตจะเป็นอีกแหล่งเรียนรู้ให้กับประชาชนโดยทั่วไปได้เข้าชม"

3.โครงการพัฒนาดอยตุง(พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดําริ
ความเป็นมา
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้เคยทรงมีพระราชปรารภกับผู้ที่ตามเสด็จหรือผู้ที่เข้าเฝ้าฯ หลายๆท่านว่าพระองค์ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะหาหน่วยงานและประชาชนมาร่วมปลูกป่า ทั้งนี้ เพราะทรงมีประราชปณิธานอย่าแรงกล้าที่จะเห็นป่าของเมืองไทยมีความอุดมสมบูรณ์มีความชุ่มชื้นและมีพรรณไม้ที่มีดอกอันสวยงาม แต่พระราชประสงค์ของพระองค์ยังไม่ปรากฎเป็นรูปธรรมจนกระทั่งเมื่อสมเด็จพระศรีนครินทราบมราชชนนี ทรงเจริญพระชนมายุมากแล้วรัฐบาลและประชาชนต่างมีความห่วงใยและเห็นพ้องต้องกันว่า สมควรจะทรงมีที่ประทับในประเทศไทยแทนการแปรพระราชฐานไปประทับในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ในทุกรอบ 2 ปี หลังจากทรงพักพระราชกรณียกิจ ดังนั้น สํานักงานราชเลขานุการในพระองค์จึงได้พยายามหาสถานที่ที่เหมาะสมสําหรับปลูกสร้างที่ประทับและในปี พ.ศ.2530 นายดํารง พิเดช หัวหน้าหน่วยพัฒนาต้นน้ำ 31 ได้นํา ม.ร.ว.ดิศนัดดาดิศกุล ราชเลขานุการในพระองค์ มาตรวจดูสภาพดอยบริเวณบ้านอีก้อป่ากล้วย ตําบลแม่ไร่ อําเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ซึ่งสถานที่นี้มีทําเลที่มีภูมิทัศน์และสภาพอากศคล้ายที่ประทับในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งสถานที่นี้มีทําเลที่มีภูมิทัศน์และสภาพอากาศคล้ายที่ประทับในประเทศสวิตเซอแลนด์ซึ่งพระองค์สามรถทรงงานเพื่อก่อประโยชน์ได้ จึงได้นําความขึ้นกราบบังคมทูลทราบฝ่าละอองพระบาท
ในวัน ที่ 15 มกราคม 2530 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชินีได้เสด็จฯ พร้อมด้วยสมเด็จฯ พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้ากัลยาณิวัฒนามาทอด พระเนตรบริเวณที่เห็นสมควรจะสร้างพระตําหนัก ทั้งสองพระองค์ทรงโปรดสถานที่แห่งนี้และได้มีพระราชกระแสรับสั่งว่า " ฉันจะปลูกป่าบนดอยตุง " และเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2530 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชนนี เสด็จแปรพระราชฐานไปประทับที่เขื่อนภูมิพลจังหวัดตาก พลเอกชวลิต ยงใจยุทธผู้บัญชาการทหารบกและรักษาการผู้ บัญชาการทหารสูงสุดในขณะนั้นพร้อมด้วยพลเอก จรวย วงศ์สายัณห์ เสนาธิการทหารบก ได้เข้าเฝ้าเพื่อถวายรายงานความเรียบร้อยของการจัดงานไหว้สาแม่ฟ้าหลวงที่จังหวัดเชียงราย ซึ่งสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงมีรับสั่งถึงประสบการณ์ที่ทรงปลูกป่าบนดอยตุง ใกล้กับพระตําหนักภูพิงค์ฯ จังหวัดเชียงใหม่ และทรงมีรับสั่งต่อว่าพระองค์ฯเคยเสด็จฯขึ้นมานมัสการพระธาตุดอยตุง ซึ่งเป็นครั้งแรกที่เสด็จฯมาจังหวัดเชียงราย โดยมาประทับที่สถานีประมง จังหวัดพะเยา ในปี 2509 ซึ่งครั้งนั้นพระองค์ทรงเห็นสภาพบนดอยตุงเป็นสภาพป่าไม้ที่ถูกตัดทําลายโดยการทําไร่เลื่อนลอย และทําการปลูกฝิ่นเป็นอาชีพ รวมทั้งทรงเห็นสุขภาพอนามัยของประชาชนที่เสื่อมโทรม และเด็กไร้การศึกษาทรงมีพระราชปรารภว่า " อยากจะไปปลูกป่าบนดอยตุงแต่คงจะต้องใช้ระยะเวลานานมากอาจจะ 10 ปี ซึ่งฉันคงไม่ได้เห็น " พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ จึงกราบทูลว่าจะพยายามทําให้สําเร็จภายใน 5 ปี ซึ่งพระองค์พอพระทัยมาก
พระราชดําริของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนี ดังกล่าวข้างต้น ผู้บัญชาการทหารบกและรักษาการผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้รายงานเรื่องนี้ต่อรัฐบาลในขณะนั้นซึ่งมี พลเอกเปรม ติณสูลานนท์เป็นนายกรัฐมนตรี และ ฯพณฯท่านนายกฯ ได้เห็นชอบและอนุมัติให้ดําเนินการตามโครรงการพัฒนาดอยตุง จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2530 และในวันที่ 22 มิถุนายน 2530 ได้แต่งตั้งคณะกรรมการโครงการพัฒนาดอยตุงจังหวัดเชียงรายขึ้น เพื่อรับผิดชอบในการดําเนินการและจัดทําแผนงานโครงการและกิจกรรมพัฒนาต่างๆ พร้อมทั้งได้สั่งให้นําเสนอ คณะรัฐมนตรี ซึ่งคณะรัฐมนตรี ได้มีมติเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2531 ให้เความเห็นชอบในการดําเนินงานโครงการพัฒนาดอยตุง จังหวัดเชียงราย ปีพ.ศ.2531-2533 และต่อมาได้มีการขยายเวลาการดําเนินงานโครงการพัฒนาดอยตุงออกไปอีกเป็น 3 ระยะคือระยะที่ 1ตั้งแต่ปี 2534-2536 ระยที่ 2 ตั้งแต่ปี 2537-2545 ระยะที่ 3 ตั้งแต่ปี 2546-2560
นับตั้งแต่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบในการดําเนินการตามโครงการพัฒนาดอยตุง จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ี่26 เมาายน 2531 ซึ่งมีพื้นที่เป้าหมายสําหรับทรงงาน จํานวน 6 แห่ง ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 7,737 ไร่ มีกรอบแนวทางดําเนินการและหน่วยงานรับผิดชอบดังนี้
1. พื้นที่ที่ 1 บ.ลาบา ต.แม่ไร่ กิ่ง อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย มีพื้นที่ 983 ไร่
2. พื้นที่ที่ 2 หน่วยย่อยป่าไม้ ต.แม่ไร่ กิ่ง อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย มีเนื้อที่ 1,390 ไร่
3. พื้นที่ที่ 3 บ.จะลอ ต.แม่ไร่ กิ่ง อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย มีเนื้อที่ 175 ไร่
4. พื้นที่ที่ 4 บ.ผาหมี ต.เวียงพางคํา อ.แม่สาย จ.เชียงราย มีเนื้อที่ 2,464 ไร่
5. พื้นที่ที่ 5 พื้นที่บริเวณรอบพระตําหนักดอยตุง กิ่ง อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย มีเนื้อที่ 1,963 ไร่
6. พื้นที่ที่ 6 พื้นที่ระหว่างบริเวณ หลังวัดน้อยดอยตุง และบ.อีก้อผาฮี้ กิ่ง อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย มีเนื้อที่ 730 ไร่่ในเวลาต่อมาได้มีการขยายพื้นที่ออกไปอีกรวมเป็น 27 หมู่บ้าน รวมเป็นพื้นที่ในโครงการพัฒนาดอยตุงประมาณ 93,515 ไร่

ที่มา http://www.lerd.org/about.php
http://www.vimannam.com/Travel.aspx?ID=44
http://www2.bpp.go.th/bpp_project/index.php? option=com_content&view=article&id=79&Itemid=87
สืบค้น วันที่ 23 มิถุนายน 2554